≧▽≦*.:。✿*゚ Wëllcomë to KåëmZa Blog'゚*・✿.。.:*≧▽≦

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระเวสสันดร

เรื่องย่อ
       
ปฐมเหตุ         หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม   ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษพระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่อง  มหาเวสสันดรชาดกหรือเรื่องมหาชาติ   ทั้ง  ๑๓  กัณฑ์  ตามลำดับดังนี้  กัณฑ์ทศพร  กัณฑ์หิมพานต์   กัณฑ์ทานกัณฑ์  กัณฑ์วนปเวสน์  กัณฑ์ชูชก  กัณฑ์จุลพน  กัณฑ์มหาพน  กัณฑ์กุมาร  กัณฑ์มัทรี  กัณฑ์สักกบรรพ  กัณฑ์มหาราช   กัณฑ์ฉกษัตริย์  และกัณฑ์นครกัณฑ์
        กัณฑ์ที่    ทศพร  มี  ๑๙ พระคาถา
           กล่าวถึงปฐมเหตุที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาเล่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดกแก่ภิกษุทั้งหลาย 
  นิโครธารามมหาวิหาร   โดยเริ่มเรื่องจากการกำเนิดพระนางผุสดีผู้ถวายแก่นจันทร์บดแด่พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง  และตั้งจิตปรารถนาว่า  ขอให้ได้เป็นพระพุทธมารดาในอนาคต  เมื่อได้บังเกิดในสวรรค์ได้เป็นมเหสีของพระอินทร์  ในกัณฑ์นี้กล่าวถึงพระนางผุสดีจะต้องจุติจากสวรรค์พระอินทร์จึงประทานพร  ๑๐  ประการให้พระนางผุสดี  ได้แก่  ๑.  ขอให้เกิดในกรุงมัทราช  แคว้นสีพี  ๒.  ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย  ๓.  ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง   ๔. ขอให้ได้นาม “ ผุสดี ”  ดังภพเดิม  
๕.  ขอให้มีพระโอรสเกริกเกรติที่สุดในชมพูทวีป   ๖.  ขอให้พระครรภ์งาม  ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ   
๗.  ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง  ๘.  ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ  ๙.  ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ   ๑๐.  ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
        กัณฑ์ที่  ๒ หิมพานต์  มี  ๑๓๔  พระคาถา
          กล่าวถึงพระนางผุสดีซึ่งจุติจากสวรรค์ลงมาประสูติเป็นพระธิด่กษิตริย์มัทราช  และได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพี  พระนางผุสดีได้ประสูติพระเวสสันดรในขณะประพาสชมพระนคร  และขณะนั้นนางช้างฉัททันต์ก็ได้นำลูกช้างเผือกมาไว้ในโรงช้างต้น  ต่อมาลูกช้างเผือกตัวนั้นได้ชื่อว่า 
“ ปัจจัยนาเคนทร์ ”  มีคุณวิเศษ  คือ  ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  พระเวสสันดรใฝ่ใจในการบริจาคทาน  เมื่อได้เสวยราชสมบัติและอภิเษกกับพระนางมัทรีแล้ว ได้ตั้งโรงทานถึง    แห่ง  และเมื่อพระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ให้กับชาวเมืองกลิงคราษฎร์  ซึ่งเป็นเมืองที่แห้งแล้ง  ข้าวยากหมากแพงมาหลายปี  ทำให้ชาวเมืองสีพีโกรธและเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสญชัยทรงลงโทษพระเวสสันดรพระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมือง
       กัณฑ์ที่  ๓ ทานกัณฑ์ มี  ๒๐๘  พระคาถา
          เมื่อพระนางผุสดีทรงทราบว่าพระเวสสันดรถูกเนรเทศ  พระนางได้ทูลขอโทษ  แต่พระเจ้ากรุงสญชัยมิได้ตรัสตอบ  พระนางจึงเสด็จไปที่พระตำหนักพระเวสสันดรและทรงรำพันต่าง ๆ นานา
          รุ่งขึ้นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญสัตตสดกมหาทาน  แล้วจึงพาพระนางมัทรีและสองกุมารเข้าไปทูลลาพระเจ้ากรุงสญชัย  พระเจ้ากรุงสญชัยทรงห้ามพระนางมัทรีมิให้ติดตามไปด้วย  เพราะจะได้รับความลำบากในป่า  แต่พระนางมัทรีก็ทูลถึงเหตุผลอันเหมาะสมที่พระนางจะต้องตามเสด็จพระเวสสันดรในครั้งนี้  พระเจ้ากรุงสญชัยจึงขอสองกุมารให้อยู่กับพระองค์  แต่พระนางมัทรีก็ไม่ยินยอม  จากนั้นทั้งสี่พระองค์ก็เสด็จไปทูลลาพระนางผุสดี  รุ่งขึ้นพระเวสสันดรให้พนักงานเบิกแก้วแหวนเงินทองบรรทุกรถเสด็จออกจากเมือง  ทรงโปรยแก้วแหวนเงินทองเหล่านั้นเป็นทานแก่ยาจกโดยทั่วหน้า  แล้วจึงตรัสสั่งให้เสนาอำมาตย์กลับคืนมายังเมือง  ส่วนพระองค์พร้อมทั้งพระนางมัทรีและกัณหาชาลีก็มุ่งสู่ป่า  มีพราหมณ์มาทูลขอรถทรงและม้าทรง  พระองค์ก็ทรงบริจาคให้จนหมดสิ้น  พระเวสสันดรจึงอุ้มพระชาลีและพระนางมัทรีอุ้มพระกัณหาเสด็จพระดำเนินต่อไปด้วยพระบาท
        กัณฑ์ที่  ๔ วนปเวสน์  มี  ๕๗ พระคาถา
             กล่าถึงการเดินทางของพระเวสสันดรไปยังเขาวงกต  ซึ่งมีพระนางมัทรีและชาลีกัณหาอันเป็นพระโอรสและพระธิดาตามเสด็จด้วย  ได้พบกับเจ้าเมืองเจตราษฎ์  เจ้าเมืองเจตราษฎ์มอบพรานเจตบุตรเป็นผู้ดูแลมิให้ใครเดินทางไปรบกวนพระเวสสันดรในเขาวงกต
       กัณฑ์ที่    ชูชก  มี  ๗๙  พระคาถา
           กล่าวถึงพราหมณืผู้หนึ่งชื่อว่า ชูชก  เป็นคนเข็ญใจไร้ญาติเที่ยวเร่ร่อนขอทาน  จนกระทั่งถึงแก่ชราจึงรวบรวมเงินได้ถึงร้อยยกษาปณ์  เห็นว่าถ้าเก็บไว้กัยตัวก็จะป็นอันตราย  จึงนำไปฝากกับเพื่อนคนหนึ่งแล้วก็เที่ยวขอทานต่อไป  เวลาล่วงเลยมาหลายปี  เพื่อนผู้รับฝากเงินไว้เห็นว่าชูชกไม่กลับมาคงจะล้มตายไปแล้ว  จึงได้นำเงินที่ชูชกฝากไว้ไปจับจ่ายจนหมดสิ้น  เมื่อชูชกกลับมาเพื่อนคนนั้นไม่มีเงินให้จึงต้องยกลูกสาวชื่อนางอมตตดาให้เป็นภรรยาชูชก  นางอมิตตดาปรนนิบัติสามีตามหน้าที่ของภรรยาที่ดีทุกอย่าง  จนทำให้พราหมณ์อื่น ๆ ในหมู่บ้านนั้นตบตีดุด่าภรรยาของตนให้ประพฤติตามอย่างนางอมิตตดา  บรรดาภรรยาทั้งหลายต่างก็โกรธเคืองหาว่านางอมิตตดาเป็นต้นเหตุ  จึงพากันไปเยาะเย้ยถากถางนางอมิตตดาขณะที่นางลงไปตักน้ำที่ท่าน้ำทำให้นางอมิตตดารู้สึกอับอาย  จึงกลับมาบอกกับชูชกว่าต่อไปนี้นางจะไม่ทำงานอะไรอีก  ชูชกจะต้องไปหาข้าทาสมาให้นาง  มิฉะนั้นนางจะไม่อยู่ด้วย  เทพเจ้าได้เข้าดลใจนางให้แนะชูชกไปขอพระกัณหาชาลีมาเป็ฯทาส  ชูชกจำใจต้องไป  ก่อนออกเดินททางชูชกก็จัดการซ่อมแซมบ้านให้แข็งแรง  และให้โอวาทนางอมิตตดา  ส่วนนางก็จัดเสบียงที่จะเดินทางไว้พร้อม  ๙ชกแปลงเพศเป็นชีปะขาว  แล้วก็ออกเดินทาง  พบกับผู้คนที่ไหรก็สอบถามเรื่องพรเวสสันดรเรื่อยไป  พวกชาวเมืองโกรธคิดว่าชูชกจะต้องไปขออะไรจากพระเวสสันดรอีก  จึงช่วยกันทำร้ายชูชกจนต้องหนีกระเจิดกระเจิงเข้าป่าไป  เทวดาดลใจให้ชูชกเดินทางไปพบกับพราหมณ์เจตบุตรที่กษัตริย์เจตราษฎ์มอบหมายให้คอยดูแลมิให้ใครไปรบกวนพระเวสสันดร  ชูชกหลอกพรานเจตบุตรว่าบัดนี้พระชาชนชาวเมืองสีพีหายโกรธเคืองพระเวสสันดรแล้ว  พระเจ้าสญชัยใช้ให้เป็นทูตถือพระราชสาส์นไปเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับพระนคร  พรานเจตบุตรหลงเชื่อจึงบอกเส้นทางที่จะเข้าสู่เขาวงกตแก่ชูชก
        กัณฑ์ที่  ๖ จุลพน  มี  ๓๘  พระคาถา
          พรานเจตบุตรหลงกลชูชก ที่ไดชูกลักพริกขิงให้พรานดู    อ้างว่าเป็นพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร  พรานเจตบุตรจึงได้ต้อนรับและเลี้ยงดูชูชกเป็นอย่างดีและได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
        กัณฑ์ที่    มหาพน  มี  ๘๐  พระคาถา
           ชูชกเดินทางไปถึงอาศรมของพระอัจจุตฤๅษี  แล้วหลอกลวงพระฤๅษีว่า  ตนเคยคบหากับพระเวสสันดรมาก่อน  เมื่อพระองค์จากมานานจึงใคร่จะเยี่ยมเยียน  พระฤาษีหลงเชื่อจึงให้ชูชกพักแรมที่อาศรมหนึ่งคืน  รุ่งขึ้นก็อธิบายหนทางที่จะเดินทางว่า  จะต้องผ่านภูเขาคันธมาทน์และสระมุจลินท์ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ  กับพระอาศรมของพระเวสสันดร  ๙ชกจึงลาพระฤาษีเดินทางต่อไป
       

        กัณฑ์ที่    กุมาร  มี  ๑๐๑  พระคาถา
          ชูชกเข้าไปขอสองกุมาร  พระเวสสันดรพระราชทานให้  สองกุมารรู้ความจึงหนีไปอยู่ในสระบัว  พระเวสสันดรตามไปพูดจาให้สองกุมารเข้าใจ  สองกุมารจึงขึ้นจากสระบัว  ชูชกพาสองกุมารเดินทางโดยเร่งรีบด้วยเกรงว่า  หากพระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ก่อนจะเสียการ
        กัณฑ์ที่    มัทรี  มี  ๙๐ พระคาถา
          เมื่อชูชกพาสองกุมารออกไปพ้นพระอาศรมแล้ว  เทพทั้งปวงก็วิตกว่า  ถ้าพระนางมัทรีกลับมาแต่ยังวันก็จะรีบติดตามหาสองกุมารเป็นแน่  พระอินทร์จึงมีเทวบัญชาให้เทพสามองค์จำแลงเป็นเสือและราชสีห์ไปขว้างทางเดินของพระนางมัทรีไว้  ส่วนพระนางมัทรีรู้สึกเป็นทุกข์ถึงสองกุมารเป็นอันมาก  เก็บผลไม้ตามแต่จะได้แล้วก็รีบกลับพระอาศรม  มาพบสัตว์ทั้งสามขวางหน้าอยู่ก็วิงวอนขอทาง  จนพลบค่ำสัตว์ทั้งสามจึงหลบทางให้  เมื่อมาถึงพระอาศรม  พระนางมองหาสองกุมาร  แต่ไม่พบ  จึงไปถามพระเวสสันดร  พระเวสสันดรเกรงว่าถ้าบอกไป  พระนางมัทรีจะโศกเศร้ามากยิ่งขึ้นไปอีก  จึงแสร้งพูดแสดงความหึงหวงขึ้นเป็นทำนองระแวงที่นางกลับมาจนมืดค่ำ  พระนางมัทรีเจ็บใจก็คลายความโศกลง  เที่ยวตามหาสองกุมารไปทุกหนทุกแห่ง  แต่ไม่พบจึงกลับมายังพระอาศรมของพระเวสสันดร  แล้วสลบไปด้วยความโศกเศร้าและสิ้นแรง  เมื่อพระเวสสันดรแก้ไขจนพระนางฟื้น  พระเวสสันดรจึงเล่าให้ฟังว่าได้บริจาคบุตรเป็นทานแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว  พระนางมัทรีก็มิได้เศร้าโศก  แต่กลับชื่นชมกับมหาบริจาคทานของพระเวสสันดรด้วยศรัทธาอันเปี่ยมล้น
        กัณฑ์ที่  ๑๐  สักกบรรพ  มี  ๔๓  พระคาถา
           พระอินทร์เกรงว่าหากมีใครมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร  ก็จะทำให้พระเวสสันดรบำเพ็ญภาวนาไม่สะดวก  ด้วยไม่มีผู้คอยปนนิบัติ  ดังนั้พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าลงมาขอและได้ให้พรแปดประการแก่พระเวสสันดร  รวมทั้งยังฝากฝังพระนางมัทรีไว้ให้อยู่ปรนนิบัติพระเวสสันดรด้วย
       


        กัณฑ์ที่  ๑๑  มหาราช  มี  ๖๘  พระคาถา
           เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่   ชูชกผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้   ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้  เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงกายลงมาปกป้องสองกุมารให้เดินทางถึงกรึงสีพีโดยปลอดภัย     ขณะเดียวกันพระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝัน  ซึ่งตามคำทำนายนั้นนำมายังความปิติปราโมทย์แก่พระองค์ยิ่งนัก
            เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้า  พระเจ้ากรุงสีพีก็ทอดพระเนตรเห็นชูชกและกุมารทั้งสองพระองค์  ครั้นทรงทราบความจริง  พระองค์จึงทรงพระราชทานค่าไถ่คืน   หลังจากนั้นชูชกก็ถึงแก่ความตายเพราะกินอาหารมากเกินขนาด  แล้วพระชาลีก็ทูลพระเจ้ากรุงสีพีเพื่อขอให้ไปรับพระบิดาและพระมารดาให้นิวัติคืนพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงราษฎร์ได้คืนช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่นครสีพี
        กัณฑ์ที่  ๑๒  ฉกษัตริย์  มี  ๓๖  พระคาถา
           พระเจ้ากรุงสญชัยยกทัพไปรับพระเวสสันดร  โดยใช้เวลา    เดือน กับ  ๒๓  วัน  จึงเดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้งสี่เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมตีนครสีพีจึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  แต่เมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกัน  ทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพำให้ป่าใหญ่สนันครั่นครืน  พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมหกกษัตริย์ให้หายโศกเศร้าและฟื้นพระองค์
        กัณฑ์ที่  ๑๓  นครกัณฑ์  มี ๔๘  พระคาถา
          กษัตริย์ทั้งหกยกพลกลับคืนพระนคร  หลังจากที่พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี  เมื่อเสด็จถึงนครสีพีจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดให้แก่ประชาชน  ท้าวโกสีย์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว    ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนมาขนเอาไปตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง
           ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรม  บ้านเมืองร่อเย็นเป็นสุขตลอดตามชนมายุ 

พระเวสสันดร ม.4/4 กลุ่ม4

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน
ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ความเป็นมา
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์
ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 41
พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิต
และความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก
"เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากกรวงเป็นเม็ดพราว ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูท้งสิ้น ที่สูชดกำชาบฟัน"
เรื่องย่อ เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า มิได้มีความแตกต่างกัน แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ ชาวนาเท่าที่ควร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอความทุกข์ยากของชาวนา และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย
เนื้อเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เมื่อครั้งเป็นนิสิต ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด หรือวิเคราะห์อะไร เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่าเขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวางและลึกซึ้งถี่ถ้วน ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน ฟังติดหูมาจนถึงวันนี้
เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากกรวงเป็นเม็ดพราว ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูท้งสิ้น ที่สูชดกำชาบฟัน
ดูสรรพนามที่ใช้ว่า "กู" ในบทกวีนี้ แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก" กับใคร ๆ ว่า ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน อย่าว่าแต่การลำเลิกทวงบุญคุณเลย ความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อคนกลุ่มนี้ในด้ายของปัจจัยในการผลิต การพยุงหรือประกันราคา และการรักษาความยุติธรรมทั้งปวงก็ยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ ทำให้ในหลาย ๆ ประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ ซึ่งทำให้ตนมีรายได้สูงกว่าหรือได้เงินเร็วกว่า แน่นอนกว่า มีสวัสดิการดีกว่าและไม่ต้องเสี่ยงมากเท่าการเป็นชาวนา บางคนที่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมก็มักจะนิยมเปลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืชซึ่งมักจะได้ราคาต่ำ เพราะรัฐบาลก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมราคามาเป็นพืชเศรษฐกิจประเภทอื่นที่ราคาสูงกว่า แต่ก็ยังมีชาวนาอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีทางที่จะขยับขยายตัวให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นได้ อาจแย่ลงด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะอิธรณ์ฎีกากับใคร ถึงจะมีคนแบบจิตรที่พยายามใช้จินตนาการสะท้อนความในใจออกมาสะกิดใจคนอื่นบ้าง แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป
หลายปีมาแล้วข้าพเจ้าอ่านพบบทกวีจีนบทหนึ่ง ผู้แต่งชื่อหลี่เชิน ชาวเมืองอู่ซี มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 772 ถึง 846 สมัยราชวงศ์ถัง ท่านหลี่เชินได้บรรยายความในใจไว้เป็นบทกวีภาษาจีน ข้าพเจ้าจะพยายามแปลด้วยภาษาที่ขรุขระไม่เป็นวรรณศิลป์เหมือนบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์
หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง
จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
กวีผู้นี้รับราชการมีตำแหน่งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในชนบท ฉะนั้นเป็นไปได้ที่เขาจะได้เห็นความเป็นอยู่ของราษฎรชาวไร่ชาวนาในยุคนั้น และเกิดความสะเทือนใจจึงได้บรรยายความรู้สึกออกเป็นบทกวีที่เขาให้ชื่อว่า "ประเพณีดั้งเดิม" บทกวีของหลี่เชินเรียบ ๆ ง่าย ๆ แต่ก็แสดงความขัดแย้งชัดเจน แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร
เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง
เวลานี้สภาพบ้านเมืองก็เปลี่ยนไป ตั้งแต่สมัยหลี่เชินเมื่อพันปีกว่า สมัยจิตร ภูมิศักดิ์เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว สมัยที่ข้าพเจ้าได้เห็นเองก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันนัก ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็ยังคงจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป
คำศัพท์
กำซาบ ซึมเข้าไป
เขียวคาว สีเขียวของข้าว ซึ่งน่าจะหอมสดชื่นกลับมีกลิ่นเหม็นคาว เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อ ซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความชมชื่นของชาวนา
จิตร ภูมิศักดิ์ นักเขียนชื่อดังของไทยในช่วง พ.ศ. 2473 - 2509 ที่มีผลงานสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษา และวรรณคดี
จำนำพืชผลเกษตร การนำผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวไปฝากกับหน่วยงานที่รับฝากไว้ก่อนเพื่อเอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อน
ฎีกา คำร้องทุกข์ การร้องทุกข์
ธัญพืช มาจากภาษาบาลีว่า ธญฺญพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก
นิสิต ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย
ประกันราคา การที่รัฐ เอกชน หรือองค์กรต่าง ๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่กำหนดไว้ในอนาคต ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ หรือ เปิบข้าว หมายถึง วิธีการใช้ปลายนิ้วขยุ้มข้าวใส่ปากตนเอง
พืชเศรษฐกิจ พืชที่สามารถขายได้ราคาดี พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ปาล์มน้ำมัน
ภาคบริการ อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น เช่น พนักงานในร้านอาหาร ช่างเสริมสวย
ลำเลิก กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้สำนึกบุญคุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น
วรรณศิลป์ ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ
สวัสดิการ การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล มีที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง
สู สรรพนามบุรุษที่ 2 เป็นคำโบราณ
อาจิณ ประจำ
อุทธรณ์ ร้องเรียน ร้องทุกข์
วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี
คุณค่าด้านเนื้อหา
กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ
ส่วนนำ กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และองหลี่เชิน โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ เช่น
"...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก" กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน..."
ส่วนสรุป สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้ ดังความที่ว่า
"ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป..."
สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน ว่า
"เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง"
หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง
จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากกรวงเป็นเม็ดพราว ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูท้งสิ้น ที่สูชดกำชาบฟัน
บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน คือ แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ ชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามแนวคิดของกวีทั้งสองคนคล้ายคลึงกัน คือ ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยต้องประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5 บท มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ สอดคล้องกับบทวีของหลี่เชิน กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตองชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลกจะเป็นไทยหรือจีน จะเป็นสมัยใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน
ดังนั้นแนวคิดสำคัญของบทความพระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี จึงอยู่ที่ความทุกข์ยากของชาวนา และสภาพชีวิตของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอดังความที่ว่า
"...แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้ให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร..."
แม้ว่าในบทความนี้จะไม่ได้มีการเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา แต่แนวคิดของเรื่องที่แจ่มแจ้งและชัดเจนดังที่กล่าวมาจะมีผลให้สังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประจักษ์และตระหนักถึงความสำคัญของชาวนา และเล็งเห็นปัญหาต่าง ๆ อันอาจจะนำไปสู่การแสวงหาหนทางแก้ไขในท้ายที่สุด

พระราชนิพนธ์ เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา อันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ตลอดทั้งปี ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค จึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูก "ข้าว" อันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำองค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.